คดีแพ่ง – 1

คดีแพ่ง คือ คดีที่เกี่ยวกับการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย การผิดสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย รวมถึงเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้มีการ “ใช้สิทธิทางศาล” เพื่อให้คุ้มครองสิทธิของตนและเรียกร้องขอให้อีกฝ่ายชดเชย ซึ่งส่วนมากจะเป็นในรูปแบบของการคืนเงิน จ่ายค่าเสียหาย และให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเป็นการเยียวยา

คดีแพ่งมีอายุความกี่ปี

คดีแพ่งแต่ละคดีมีอายุความที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบและกรณีของคดีนั้นๆ ซึ่งนับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะหากพ้นคดีความไปแล้ว ผู้ยื่นฟ้องร้องจะเสียสิทธิ์ในการเรียกร้องไปโดยปริยาย เช่น ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้ เพราะคดีความขาดอายุ เป็นต้น จึงได้มีการกำหนดอายุความคดีแพ่งไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้

คดีที่มีอายุความ 2 ปี

ตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ และมาตรา ๑๙๓/๓๕ ได้แก่ การฟ้องเรียกค่าจ้าง ฟ้องเรียกเงินที่พนักงานจ่ายไปก่อนแล้วนายจ้างไม่ยอมจ่ายคืน ฟ้องเรียกค่าจ้างออกแบบหรือเขียนแบบ ฟ้องเรียกเงินค่าส่งสินค้า และฟ้องเรียกค่าเช่า

คดีที่มีอายุความ 5 ปี

ตามมาตรา ๑๙๓/๓๓ ได้แก่ การฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างจ่าย ฟ้องให้จ่ายหนี้ที่ผ่อนเป็นงวด ฟ้องให้จ่ายค่าผ่อนสินค้า ฟ้องเรียกเงินบำนาญหรือค่าเลี้ยงดู

คดีที่มีอายุความ 10 ปี

ตามมาตรา ๑๙๓/๓๐ มาตรา ๑๙๓/๓๑ และมาตรา ๑๙๓/๓๒ เช่น คดีที่ไม่มีกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง รวมไปถึงคดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดหรือมีการประนีประนอมยอมความ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top